MechBasic

มารู้จักประวัติบริษัท Cherry สวิตช์เยอรมันที่เรารู้จักกันดีกัน

มารู้จักกับประวัติแบบคร่าวๆ ของบริษัท Cherry ผู้ปลิต Cherry MX Switch ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายกัน

หลายคนรู้อยู่แล้วว่าสวิตช์ที่ได้รับการนับถือว่าเป็น Mechanical Switch ในระดับตลาดทั่วไปที่คุณภาพดี และไม่ค่อยมีปัญหาก็คือ Cherry MX

และจากสวิตช์แบบ MX นั้นทำให้เกิดของเลียนแบบขึ้นมามากมายไม่ว่าจะเป็น Kailh, Outemu, Gateron และอื่นๆ

ประวัติการก่อตั้ง

แม้ว่าหลายคนอาจจะรู้ว่า Cherry เป็นบริษัทเยอรมัน แต่ที่จริงแล้ว Cherry นั้นก่อตั้งขึ้นที่สหรัฐอเมริกาครับที่ Highland Park, Illinois เกิดขึ้นที่ใต้ถุนร้านอาหารร้านหนึ่งในปี 1953

จากนั้นสำนักงานใหญ่ก็ได้ย้ายจากอเมริกาไปที่เยอรมันในปี 1979 ที่เมือง Auerbach in der Oberpfalz (โปรดอย่าถามออกเสียงยังไง) โดยเริ่มการผลิต Keyboard ในปี 1973 และเคลมว่าตัวเองเป็นผู้ผลิตคีย์บอร์ดเก่าแก่ที่ยังมีธุรกิจอยู่ถึงทุกวันนี้ (อีกเจ้าที่ดังๆก็ ALPS ที่ไม่อยู่แล้ว)

auerbach
เมือง Auerbach สวยเหมือนกันแฮะ

ปี 2008, บริษัท Cherry ถูกบริษัท ZF Friedrichshafen AG หรือ ZF Group บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่ของเยอรมันครับ โดยซื้อไปเป็น ZF Electronics GmbH แต่ยังใช้ชื่อ Cherry ทำการตลาดเช่นเคย

1200px-ZF_Official_Logo.svg

โลโก้บริษัท ZF

การที่เราเห็น ​Cherry โดน ZF Group ซื้อไปช่วงปี 2008 นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราถึงเห็น Mechanical Keyboard ใช้ Cherry MX Switch บุกตลาดกันอีกครั้งอย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาครับ

แบรนด์ Cherry ปัจจุบันใช้ใน 4 ตลาดหลักๆครับ

  • คีย์บอร์ดและเมาส์
  • รับจ้างผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์
  • สวิตช์
  • เซนเซอร์

ซึ่งแบรนด์ Cherry นั้นไม่ได้ใช้ในแค่ตลาด Mechanical Keyboard อย่างเดียวจะเห็นว่าชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์อื่นก็มีชื่อ Cherry เช่นกันครับ ลองเช็คดูได้ที่เวปของ Cherry ครับ https://www.cherry.de

สิทธิบัตร Cherry MX

จุดที่น่าสนใจของของ Cherry ที่เรารู้จักกันคือ Cherry MX Switch ที่ใช้ใน Mechanical Keyboard มากมาย (จริงๆ มี ML อีกแบบแต่ไม่ค่อยนิยม)

US4467160-1
ภาพบางส่วนจากสิทธิบัตร Cherry Switch ครับ

สิทธิบัตร US Patent 4,467,160 ได้รับการอนุมัติช่วงปี 1980 นิดๆ และเริ่มขายสวิตช์จริงราวๆ ปี 1985 และสิทธิบัตรได้หมดอายุลงในช่วงปี 2014-2015 (จริงๆ สิทธิบัตรอเมริกาจะอายุ 20 ปี แต่เห็นในฟอรั่มฝรั่งคุยกันว่าสิทธิบัตรของ Cherry MX หมดปี 2014 เพราะว่ามีการแก้ไขสิทธิบัตรอีกรอบในช่วงปี 1994 อะไรแบบนี้ครับ แต่ผมพยายามลองหาข้อมูลแล้วหาแหล่งอ้างอิงไม่ได้เลย)

นั่นเลยทำให้เราได้เห็นสวิตช์ทรงเดียวกันแบรนด์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Kailh, Razer, Outemu, Gateron และอีกมากมายทะลักเข้ามาในตลาดพร้อมๆกันในช่วงปี 2014-2015 นั่นเองครับ (แต่ถ้านับจริงๆ มันมีมาก่อนหน้านั้นแต่เจอในจีน หรือพวกไร้แบรนด์ครับ เพราะโฆษณาไม่ได้นั่นเอง)

ปัจจุบัน

ปัจจุบัน Cherry MX จะมีสวิตช์ในตลาดทั้งหมดประมาณนี้ครับ โดยบางอันอาจจะหายากหน่อย (Nature White เป็นต้น) โดยใน List นี้จะยังไม่รวม Silent Red กับ Silent Black เข้ามาครับ

Cherry MX Switch.PNG

ในปัจจุบัน โรงงานผลิตที่สำคัญของ Cherry อยู่ที่ยุโรป (หลักๆคือ เมือง Bayreuth ประเทศเยอรมัน) ในเอเชียและอเมริกา ส่วนของดีไซน์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำที่สำนักงานใหญ่ที่เมือง Auerbach in der Oberpfalz นับแต่ย้ายมาครับ

นอกจากสวิตช์แล้ว Cherry ยังมีการผลิต Keyboard ของตัวเองอีกด้วย โดยจะมีทั้ง Keyboard เฉพาะทางเช่นคีย์บอร์ดใส่ที่รูดบัตรหรือสแกนนิ้ว ให้กับโรงงาน หน่วยรักษาความปลอดภัย โรงพยาบาล อะไรแนวนั้นครับ

G81-8040_2_Persp1-150-dpi1-1100x728.jpg
นี่คือตัวอย่างคีย์บอร์ดที่ใช้ในสถานที่รักษาความปลอดภัยโดยมาสามารถอ่านค่าจากบัตร ID หรือบัตรแม่เหล็กได้ครับ

โดยในส่วนของ Mechanical Keyboard ในระดับคนใช้ทั่วไปก็พอมีอยู่บ้าง โดยแบรนด์ Cherry ค่อนข้างได้รับความนิยมในประเทศจีนระดับหนึ่งสำหรับคนที่กล้าสู้ราคาหน่อยครับ (เพราะหลายตัวแพงพอสมควรเลย)

Cherry MX 1.0 TKL
Cherry MX 1.0 TKL นี่ได้มีการเปิดตัวไปก่อนหน้านี้

ส่วนถ้าใครอยากดูวิดีโอชมโรงงานผลิตสวิตช์ Cherry MX ทาง Linus Tech Tips เคยได้ไปเยี่ยมชมด้วยครับผม เจ๋งมาก

ก็จบกันไปสำหรับบทความเกี่ยวกับ Cherry นะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กัน ใครมีคำถามหรือสนใจอะไรมาคุยกันได้ที่ เพจนักเลงคีย์บอร์ด แล้วก็อย่าลืมติดตาม YouTube KBGangster ด้วยนะครับผม

เกี่ยวกับ KBGangster

เจ้าของเวปและนักเขียนประจำแห่งเวป www.kbgangster.com ฝันว่าอยากจะสร้างพื้นที่สำหรับคนรัก Mechanical Keyboard และเป็นแหล่งความรู้ให้สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะหาข้อมูล

0 comments on “มารู้จักประวัติบริษัท Cherry สวิตช์เยอรมันที่เรารู้จักกันดีกัน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: