ขั้นแรกเราต้องแยกให้ออกก่อนนะครับบ ⬇⬇


ชื่อคล้ายๆ เครื่องของ RX-7 แต่ไม่ใช่นะครับ อันนี้คือ knob หมุนๆ บนคีย์บอร์ดของคุณ (และอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ต่างๆ รอบตัวคุณ) knob เพิ่มลดเสียงกีตาร์ บนพวกเอฟเฟกต์ ไอ้ตัวเพิ่มลดเสียงบนลำโพงก็ใช่ (มั้งครับ ผมจบนิเทศน์ศาสตร์ ใครจบสายที่เกี่ยวข้องคอนเฟิร์มผมที 5555)


Rotary Encoder ตรงๆ เลยคือไอ้ที่หมุนๆ ครับ ผมไม่รู้หรอกครับว่าภาษาทางการช่างที่ถูกต้องภาษาไทยคืออะไร ผมจบนิเทศมา 555 ขอทับศัพท์เลยละกันว่า Rotary Encoder จริงๆ มันก็ไม่ใช่อะไรใหม่นะครับ บอร์ดพวก gaming มีพวก media controls ที่ทำหน้าที่คล้ายๆ กันมาตั้งนานแล้ว แต่หลังๆ ผมว่าผมเริ่มสังเกตุเห็น trends บอร์ดและ PCB ใหม่ๆ เริ่มรองรับ Rotary encoder กันมากขึ้น ส่วนตัวผมคิดว่ามันคงไม่ได้มาแทนที่อะไรหรอกครับ น่าจะเป็นการขยับขยาย practicality และ productivity ของบอร์ดเรามากกว่า
Rotary Encoder ทำได้หลายอย่างนะครับ ก็อยู่ที่ตอนเราเซ็ตนี่แหละ เพิ่มเสียง ลดเสียง เพิ่มแสง ลดแสง 5555 หลักๆ ผมเองเอาไว้ใช้เพิ่มลดเสียงธรรมดานี่แหละ ไม่ค่อยได้ใช้อะไรมากครับ แต่ผมว่าสะดวกดีนะ แล้วเหมือนที่เคยเห็นจะอยู่ในพวกบอร์ด high end มาก่อนเช่น DAS Keyboard หรือสาย gaming หลายๆ อันอาจจะไม่ใช่ Rotary Encoder เต็มร้อยตามหลักการทำงาน แต่ทำหน้าที่เดียวกันคือเพิ่มความสามารถในการใช้งานบอร์ดของเราให้มากขึ้นไม่ใช่แค่ว่าต้องกดปุ่มรัวๆ เพื่อเพิ่มเสียง หรือปรับอะไรต่างๆ ในโปรแกรมพวก Photoshop ได้ละเอียดและรวดเร็ว
ทั้งนี้ทั้งนั้น ส่วนตัวผมเหมือนเห็นว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา PCB ที่เปิด GB หลายๆ อันเริ่มรองรับ Rotary Encoder กันหนาตามากขึ้นแล้ว ไม่ใช่แค่คีย์บอร์ดด้วย Macro Pad เองก็มีรองรับและไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะขนาดซื้อทั้งบอร์ดมาแล้ว (ตัวอย่าง Macro pad อันนี้ยังมีของจาก Keebio) (ตัวอย่างบอร์ด ตัวนี้มี OLED ด้วย 555) กระแสมันมา น่าจะอยู่ยาวๆ ในวงการ MechBoard การใช้งานผมว่าก็มีเยอะอยู่นะ ตามแต่จะจินตนาการแล้วปรับให้เข้ากับฟังก์ชั่นการใช้งานประจำวันของเรากันเลยครับ สนใจก็ลองหาพวก PCB มาต่อลองกันเลยครับ ใช้ดี ไม่ดี แวะมาเล่าให้กันฟังบ้างนะครับบบบ
0 comments on “Rotary Encoder: ที่แน่ๆไม่ใช่เครื่องมาสด้า แต่คือทิศทางของวงการ Mech หรือเปล่า”