MechBasic

[MechBasic] Size does matter! เล็กใหญ่ไม่ว่า ขอแค่มีปุ่มพี่ชอบหมด (คีย์บอร์ดนะ)

ตั้งแต่ใหญ่เต็มโต๊ะยันเท่าขี้มด มาดูกันว่ามีขนาดไหนบ้างงง

ขอบคุณแฟนเพจที่แนะนำหัวข้อนี้มานะครับ (อิ) ผมเองเคยคิดว่าจะเขียนเรื่องนี้แต่ก็โดนถาโถมด้วยสิ่งต่างๆ เรื่อยมาจนลืมไปเลย ว่าตั้งใจจะเขียน จริงๆ แล้วนอกจากที่เราคุ้นหูคุ้นตากัน คีย์บอร์ดนั้นยังมีขนาดต่างๆ กันหลายแบบให้ เราได้เลือกดู เลือกใช้กัน บางทีเจอ layout ที่เราชอบก็เรียกไม่ถูกอีก 5555 วันนี้เลยลองเอาคีย์บอร์ดขนาต่างๆ มาแจงให้ทุกท่านฟังกันครับโพ้ม

เริ่มแรกเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าตรงไหนเรียกว่าอะไรยังไงบน layout ของบอร์ดเรา ⌨⌨

  1. Alpha คือตัวอักษรทั่วไปครับ
  2. F row คือแถบปุ่ม F1 – F12 ในขนาดทั่วไป
  3. Modifiers คือปุ่มที่เอาไว้โม ตัวอักษรของเรา โดยตัวมันเองจะไม่ได้ทำอะไรถ้าไม่กดคู่กับปุ่มอื่น
  4. Navigation Cluster (Nav Cluster) คือโซนข้างๆ numpad รวมพวกที่ทำให้เรา navigate ไปยังที่ต่างๆ ครับ
  5. Cursor keys ปุ่มลูกศร แต่รู้สึกว่าหลายๆ ท่านเรียกรวมไปกับ nav clusters เลย (ผมเองก็ชอบทำ 555)
  6. Numpad เอาไว้กดเลขครับชื่อบอกอยู่ว่า Number Pad

คีย์บอร์ดจะขยายเล็กใหญ่ยังไง ยังไงแล้วมันก็ต้องทำหน้าที่ได้เท่าเทียมกับขนาดเต็ม จะแตกต่างกันก็แค่การ position ของปุ่มว่าจะอยู่ layer 0 หรือโดนซุกไปไว้ใต้ layer ไหนแค่นั้นเองครับ

  • เปิดขนาดมาตรฐานกันก่อนเลย Full-size 100%

คงไม่ต้องเกริ่นครับ ไซส์ผู้ใหญ่เต็มตัว มาครบทั้งทั้งหมดทั้งมวล ขนาดและ Layout นี้ popularize และกลายมาเป็นมาตรฐานวงการโดย IBM Model M ตั้งแต่ช่วง 80’s เป็นต้นมา

IBM Model M keyboard
IBM Model M
  • ขนาดที่สอง TKL – Ten-Key-Less หายไปสิบคีย์ หรือสับ Numpad ทิ้งไปนั่นเอง

ก็เป็นขนาดที่เห็นกันได้บ่อยๆ ก็มีมาตั้งแต่ยุค Model M เหมือนกันละครับ เรียกว่า Space Saving Keyboard เอาจริงๆ มันก็ช่วยลดพื้นที่ที่เราจำเป็นต้องมีจริงๆ นะครับ สามารถจับเมาส์ได้ใกล้กับบอร์ดมากขึ้นและช่วยเรื่อง posture และท่านั่งของเราด้วย

RealForce 84u (Topre Switch)
  • ขนาดที่สาม 1800 Compact เข้าใจไม่ผิด layout นี้มาจาก Cherry

แอบชอบส่วนตัวครับ 555 เป็นขนาดที่ไม่ค่อยเห็นบ่อยเท่าไร จุดเด่นของขนาดนี้คือย้าย แยกปุ่ม Nav cluster ออกจากัน ปุ่มลูกษรไวที่เดิมแล้วหดปุ่ม Shift กับปุ่มอื่นเพื่อเซฟที่แล้วย้ายพวก insert ไปแปะข้างบน numpad อีกที

Cherry G80-1800 Compact Keyboard
  • Compact-Full-size (90%) คีย์บอร์ดปลากระป๋อง

ไม่ค่อยเห็นบ่อยอีกแล้ว แต่ลอร์ดนี้ทำงานได้แทบเท่า Full size ครับ ขึ้นอยู่กับการวาง layout ปุ่มด้วยอีกที แต่ทุกอย่างถูกยัดไว้ด้วยกันเพื่อเซฟที่อย่างที่สุด ยกตัวอย่างเช่น XD96 ครับ

LightSaver Keyboard (Many thanks to the pic owner)
  • ขนาดต่อมา 75% อาห์ เริ่มกลับมาบอร์ดที่เราพบปะกันได้บ้างแล้ว

ขนาดนี้ก็ยังคงเป็นการเซฟพื้นที่ด้วยการแยก nav cluster ออกจากกันครับ แทนที่จะกองไว้ข้าง alphas ก็จับมาเรียงซะ วางไว้ข้างๆ alpha เลย ก็จะเป็น 60% ที่ขยายใหญ่ขึ้นมาหน่อย ทำงานได้เท่า TKL โดยไม่ต้องกด second layer ครับ ยกตัวอย่างก็ Vortex Race แต่อาจจะหาแคปปุ่มขอบยากนิดนึงเพราะ R1-R4 ไม่ค่อยมี maker ไหนพิมพ์ nav cluster มา อาจจะต้องหาแคปที่เป็นสำหรับ 75% จริงๆ 

Akko Ducky 3084 (อ่านรีวิวได้ที่นี่เลย อิอิ)
  • ไซส์เด็กโตหน่อย ~60% เป็นเลย์เอาท์ที่นิยมนำมาทำ Custom กันครับ หาของง่ายสุด หาเคสง่ายสุด

เรียกว่าประมาณ 60% ละกันครับ ในช่วงนี้มีหลาย layout มี modifier มั่ง ไม่มีมั่ง รวมๆ เรียกกันว่า 60 ไปเล้ย 5555
ตัดทุกอย่างที่ไม่ใช่ alphas และ modifiers ทิ้งครับสำหรับเลย์เอาท์มาตรฐาน (จำนวนปุ่มขึ้นกับการวางเลย์เอาท์ด้วยเช่น Tada68 จะมีการวางปุ่มลูกศรไว้ที่เดิม) บอร์ดที่ทำให้ 60% ดังขึ้นมาน่าจะมาจาก POK3R ครับ ส่วนตัวผมชอบ Layout นี้มากเพราะยังพิมพ์ไทยได้ครบและการเริ่มต้นใช้งานไม่ยากมาก เราต้องจำแค่ว่าเราใส่ function nav clusters ไว้ใช้คีย์ไหนแค่นั้นเอง เหมาะแก่การ daily และพกไปไหนมาไหนครับ

Anne Pros (อ่านรีวิวต่อได้ที่นี่เลย อิอิ)
Magicforce 68 ก็ยังถือว่าอยู่แถวๆ 60
  • ขอคั่นจังหวะด้วย Split หรือคีย์บอดแหกได้ 555

ขนาดนี้จะฮิตกับแค่ 60% หรือ 40% ครับ เพราะยังแหกได้แล้วมือเอื้อมถึงปุ่มหมด แบบนี้ทำให้เราสามารถถนอมข้อมือของเราได้เพราะไม่ได้หักข้อมือมาพิมพ์บนคีย์บอร์ดชิ้นเดียว แถม custom ได้มันๆ เลยครับ บางเจ้ามีติดจอ OLED กันด้วย 

Lily 58 with OLED (buy here) Many thanks to Keyhive
  • ไซส์เด็กโข่ง 40% เริ่มหนักครับ คนที่ยังไม่เซียนอาจจะ pim thai mai koi dai 5555555

จิ๋วกว่า 60% อีกครับ บ้าบอ 555555 แถวตัวเลขหายไปเลย แถมหด key alpha ด้วย ถ้าเป็นภาษาอังกฤษอาจจะยังพอทำเนา พิมพ์กันไหวครับ แต่ภาษาไทยมีการใช้แถวตัวเลขเยอะ ต้องเข้า third layer กันไปงมสระ งมตัวออกมา พบเห็นได้ค่อนข้างบ่อยทั้ง ortholinear แบบปุ่มเรียงกันและ staggered หรือเหลื่อมกันแบบทั่วไป  แต่ layout นี้สนุกครับ พิมพ์ภาษาอังกฤษสนุก และสนุกด้วยการที่เราจะอยากมานั่ง customize layout ของเราะเพื่อที่จะดึง efficiency ออกมาจากขนากที่เล็กให้ได้มากทุกสุดครับ แตัวอย่างแบบ Staggered ก็ UT47.2 หรือ Ortholinear ดังๆ เลยก็ Planck

Vortex Core
UT47.2

ขนาดสุดท้ายเล็กกว่า 40 เล็กกว่า 40 นี่คือเล่นเป็น meme กันแล้วครับถ้าไม่ได้ทำ numpad แยก หรือทำ macro pad ยกตัวอย่างเช่น Pain27 ใครใช้ได้มาเอารางวัลครับ ยอมรับและนับถือเลย 55555

Pain 27 (Thanks to the owner of the pic)

สรุปแล้วไม่มีขนาดไหนดีกว่าขนาดไหนหรอกครับ ผมว่าอยู่ที่ขนาดไหนจะตอบโจทย์ของผู้ใช้งานมากกว่ากัน ส่วนตัวผมชอบขนาด 60% ที่สุดเพราะสามารถปรับให้เช้ากับมือได้หลายอย่างและประหยัดพื้นที่ได้แบบสุดๆ ใช้ทั้งเล่นเกม ทั้งพิมพ์งาน 5555 แต่ก็อย่างที่ผมบอกครับ แต่ละคนก็ต้องการใช้งานแต่ต่างกันไป เพื่อนๆ ชอบบอร์ดขนาดไหน ชอบใหญ่ๆ หรือชอบเล็กๆ แบ่งปันกันได้ครับ 5555 😜

นักเลงคีย์บอร์ด รายงาน

0 comments on “[MechBasic] Size does matter! เล็กใหญ่ไม่ว่า ขอแค่มีปุ่มพี่ชอบหมด (คีย์บอร์ดนะ)

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: