Unicomp Closeup Photo
MechBasic Switch

#MechBasic รู้จักกับ Switch แบบ Buckling Spring ของเก่าแต่ยังเก๋า!

รู้จักกันกับ Mechanical Keyboard สวิตช์สปริงเก่าแต่ยังเก๋ากัน!

พอพูดถึง Mechanical Keyboard แล้วคนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงสวิตช์แบบ MX ตัว + หรือในยุคปัจจุบันก็มีที่ของ Romer-G ของ Logitech ที่เคยเขียน เล่าให้ฟังไปกันแล้ว

แต่มีกลไกอีกตัวนึงที่กำเนิดมานานและเสื่อมความนิยมไป แต่ก็ยังมีกลุ่มคนรักเจ้าประเภทนี้อยู่ โดยจะเป็นกลุ่มคนรักคีย์บอร์ดเก่า หนือ Vintage Keyboard นั่นเอง หรือความคลาสสิกจากค่าย Big Blue หรือ IBM นั่นเอง

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะพอเดาออกว่ามันคืออะไร (จะเดาทำอะไร พาดหัวบอกอยู่) มันก็คือ Buckling Spring นั่นเองครับ

Buckling Spring เป็นเทคโนโลยีกลไกสวิตช์ Mechanical Keyboard ที่พัฒนาขึ้นมาใน IBM โดยต่อยอดมาจาก Beam Spring อีกที

ท้าวความถึง Beam Spring นิดนึงมันคือกลไกแบบแรกจาก IBM ซึ่งหายากมากๆ แล้วในยุคปัจจุบันครับ โดยใช้ในช่วงปี 1970-1980 ผมเองก็ไม่มีปัญญาหามาให้ดูกันได้เลยขออนุญาตแปะคลิปของเจ้า IBM 3278 ละกันนะครับ (เสียงทดลองพิมพ์อยู่ช่วง 12:22 เป็นต้นไป โดยสามารถเปิดหรือปิด Clicker ได้ด้วย)

ซึ่งเจ้า Beam Spring เนี่ยราคาสูงมากในสมัยนั้น ทำให้ IBM คิดค้นพัฒนาสวิตช์แบบใหม่ที่ต้นทุนถูกลงเข้าถึงคนได้มากขึ้น ก็มาถึงเจ้า Buckling Spring นั่นเอง โดยใช้สปริงกดแผ่นด้านล่างที่เรียกว่า Hammer เพื่อให้เกิดกลไกนั่นเอง

โดย Buckling Spring จะแบ่งเป็นสองรุ่นย่อยครับ คือรุ่นที่ใช้ใน Model F เป็น Capacitive ซึ่งมาก่อน กับ Model M เป็น Membrane

Buckling Spring Animation
การทำงานของ Buckling Spring ครับ ใช้แรงของสปริงกด Hammer ด้านล่างโดยตรงเลย

Model F – Capacitive Buckling Spring

พัฒนาต่อยอดมาจาก Beam Spring เพื่อลดต้นทุน ออกมาเป็น Model F ที่ใช้ในปี 1980 – 1994

เป็น Buckling Spring แบบแรกที่พัฒนาขึ้นมาแล้ว IBM เรียกโมเดลพวกนี้ว่า Model F โดยใช้เทคโนโลยีสปริงเป็นตัวกดแผงวงจรข้างล่างให้แผงบนมีการขยับแล้วประจุไฟฟ้าของแผงบนแผงล่างจะเปลี่ยน ตัวคีย์บอร์ดก็จะเข้าใจว่าเรากดปุ่มนี้นั่นเอง (ข้อมูลทางเทคนิคไม่อยากอธิบายมากเดี๋ยวจะงงกัน)

โดย Model F นั้นจะมีความทนทานกว่า Model M พอสมควร เนื่องจากไม่มีการ Contact กันของแผงวงจร และแน่นอนต้นทุนยังแพงกว่า Model M อยู่ดี เพราะใช้แผง Capacitive ทำงาน

Buckling_spring_comparison
ด้านซ้ายเป็นสปริง Model F จะเห็นว่า Hammer (แผ่นด้านล่างยาวกว่า) เผื่อกดแผ่นวงจร ส่วนด้านขวาเป็นของ Model M Hammer จะสั้นเพราะแค่ต้องการจะกดแผ่นยาง Membrane ด้านล่างเฉยๆ

Model M – Membrane Buckling Spring

พอ Personal Computer เริ่มขายดีมากขึ้นเรื่อยๆ IBM ก็ต้องคิดถึงวิธีการต้นทุนลงไปอีก (เผื่อแข่งกันคู่แข่งด้วย ตอนนั้น Cherry MX กับ Alps เริ่มทำตลาดในช่วงปี 1983 ได้) ในช่วงปี 1995 ก็เลยออก Model M ออกครับ

เป็นการต่อยอด Buckling Spring แบบเดิมด้วยการใส่แผง Membrane ยางระหว่างแผงบนแผงล่าง แล้วใช้วิธีสัมผัสของ Contact กันแทนที่จะเป็นแผง Capacitive แบบเดิม ดังนั้นต้นทุนจะลดลงเยอะ โดยที่ความรู้สึกไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก

แต่ที่เปลี่ยนคือเสียง Hammer ของ Switch ที่ตอกลงไป แทนที่จะเป็นแผงเหล็กเดิมๆ ก็กลายมาเป็นปุ่มยางแทน เสียงก็จะเปลี่ยนไปเหมือนกัน ลองมาฟังเทียบเสียงกัน

ข้อเสียของ Model M ที่มีเทียบกับ Model F คือ ใช้ได้แค่ 2KRO หรือกดมากกว่าสองปุ่มพร้อมกันไม่ได้นั่นเอง ส่วน Model F นั้นเป็น NKRO ครับ

จากนั้นด้วยนโยบายของทาง IBM ได้ขายสิทธิบัตรและการผลิตทั้งหมดของอุปกรณ์ด้าน Hardware ออกทำให้หน่วยผลิตนี้แยกออกมาเป็นบริษัท Lexmark ผลิตสินค้าให้ IBM ก่อนที่ โดนสับย่อยอีกที โดยส่วนการผลิตคีย์บอร์ดก็ตกไปอยู่กับ Unicomp จนถึงทุกวันนี้

Unicomp Closeup Photo
Unicomp ที่ยังจัดจำหน่าย Keyboard Buckling Spring จนถึงทุกวันนี้

ถ้าใครสนใจ Buckling Spring แบบใหม่ๆ ที่ใช้งานกับ USB ได้เลย ลองตามเวปของ Unicomp ได้ที่ https://www.pckeyboard.com/ ผมมีอยู่ตัวนึงครับ ไว้เดี๋ยวจะรีวิวให้ดูกัน

สำหรับสวิตช์อีกอันนึงที่เก่าไม่แพ้กันและแพ้ Cherry ไปในตลาดการแข่งขันคืออะไร บทความครั้งหน้าเจอกันครับ

เกี่ยวกับ KBGangster

เจ้าของเวปและนักเขียนประจำแห่งเวป www.kbgangster.com ฝันว่าอยากจะสร้างพื้นที่สำหรับคนรัก Mechanical Keyboard และเป็นแหล่งความรู้ให้สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะหาข้อมูล

0 comments on “#MechBasic รู้จักกับ Switch แบบ Buckling Spring ของเก่าแต่ยังเก๋า!

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: