หลังๆ ผมดีใจเหมือนกันที่เห็นคำว่า Tenkeyless หรือ TKL ใช้กันอย่างแพร่หลายกันมากขึ้นในไทย (ไม่รู้ว่าจากเวปผมมีส่วนด้วยไหม แหะๆ) ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีกับการเรียกประเภท Keyboard ให้ถูกจะได้เข้าใจกันมากขึ้น
แต่หลังๆ ผมเห็นปัญหานิดหน่อยคือคนที่เอามาเรียกกันไปว่า Mechanical Keyboard ตัวไหนก็ตาม ขอให้แค่ไม่มี Numpad หรือปุ่มตัวเลข เรียก TKL กันหมด ไม่ว่าจะมาเป็น AJAZZ AK33 / Poker / Leopold FC660m อะไรแบบนั้น ซึ่ง เป็นการเข้าใจผิด นะครับ
เรามาดูกันดีกว่าว่าจริงๆ แล้วมันมี Layout หลักๆ ของ Mechanical Keyboard ทั้งหมดกี่รูปแบบกันเนอะ
TKL / Tenkeyless (80%)
Tenkeyless นั้นจะหมายถึงคีย์บอร์ดที่มีขนาด 80% หรือรูปแบบตามภาพด้านล่างครับ คือหน้าตาเหมือน Full Size แต่ตัดแผง Numpad ด้านขวาออก

หรือถ้าอยากเห็นภาพมากขึ้น ลองดูรูปด้านล่างนี้่ครับ 60% 80% (TKL) 100% (Full Size) จะมีลักษณะที่เหมือนกัน แต่จะแบ่งเป็นส่วนๆ

60% Keyboard (61 Keys)
อย่าง Poker ทั้งหลายหรือพวก Anne Pro ก็เป็นรุ่นที่ไม่มี Numpad แต่เค้าจะไม่เรียก TKL กันครับ เค้าจะเรียก Mini หรือ 60% Keyboard ไปเลย
หรือบางคนจะเรียกใช้คำว่า 61 Keys ครับ เพราะว่ามันมีทั้งหมด 61 ปุ่มนั่นเอง (ผมลองนับอีกรอบแล้ว ใช่อยู่)

แล้วแบบอื่นๆ ล่ะ?
ยังมีอีกหลายแบบมากมายครับในวงการ Mechanical Keyboard ซึ่งรูปแบบด้านบนเป็นมาตรฐานที่ขึ้นชื่อ แต่ก็ยังมีมาตรฐานอื่นๆ ที่นำเอามาเรียกกัน
ส่วนตัวผมแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ จะได้เข้าใจกันง่ายๆครับ ตามด้านล่าง
- เรียกโดยใช้ %
- เรียกตามจำนวนปุ่ม (Keys)
- เรียกด้วยชื่อเฉพาะ
Keyboard บางตัวอาจจะมีชื่อเรียกมากกว่า 1 หมวดก็เป็นไปได้ อย่างเช่น TADA68 บางคนจะเรียกว่าเป็น 68 Keys หรือว่า 65% ก็ได้ครับ เพราะมันตามคุณสมบัติทั้งคู่
ประเภทแรก เรียกโดยใช้ %
นอกจากแบบมาตรฐานที่บอกไปด้านต้น 100% 80 60% แบบอื่นๆ ก็จะมีเรียกชื่อของตัวเองครับ เช่น Vortex Race 3 หรือ Ajazz AK33 ที่เรียกว่า 75% Layout คือเหมือนเทียบขนาดเป็น 75% จากขนาดเต็ม Full Size ที่เราเรียกว่า 100% นี่แหละ
(มี 40% เป็นคีย์บอร์ดขนาดเล็กจิ๋วด้วยนะเอ้อ คือมีแค่ 4 แถวฮะ)
75% นั้นหลักๆ ก็คือมีปุ่มทิศทางเพิ่มขึ้นมาด้านขวาล่างพร้อมกับ Function Row ด้านบนครับ แต่บางทีปุ่มอาจจะหน้าตาเรียงไม่เหมืนกันเป้ะๆ นะครับ แต่พอให้เห็นภาพก็จะประมาณนีี้

หรืออย่าง 65% คือจะเป็น 60% ที่เพิ่มปุ่มทิศทางเข้ามาด้านขวาล่างครับ หรือ 68% ที่เหมือน 65% แต่มีแถวขวาสุดเพิ่มคำสั่งพวก Page up หรือ Page down ได้
หลักๆ คำพูดแนวๆ 65% นั้นเกิดจากการที่ 60% แต่มีปุ่มเพิ่มขึ้นมาอีก 5 ปุ่ม เลยเรียก 65% อะไรแบบนั้นครับ ถ้าวัดจริงๆ มันอาจจะไม่ใช่ 65% เป๊ะๆ ซะทีเดียว

เรียกตามจำนวนปุ่ม (Keys)
อีกรูปแบบที่คนอาจจะไม่เรียกเป็น % แต่เรียกเป็น Keys แทน เช่น 66 Keys / 88 keys / 75 Keys / 96 Keys แทนเป็นต้น ยกตัวอย่างด้านล่างเป็น Leopold FC660 ที่ใช้ 66 Keys ครับ

หรืออันอันนึงที่หลายคนชอบก็คือแบบ 96 keys ที่หน้าตาเหมือนเอา Full Size มาบี้ปุ่มอัดเข้าไปเป็นแผงเดียวครับ จะดูแน่นๆ ตันๆ แต่ปุ่มหลักๆ ที่จะใช้งานยังอยู่ครบรวมถึง Numpad ด้วย

บางคนอาจจะมีคำถามว่า อ้าวแล้วถ้าหน้าตาไม่เหมือนกันแต่จำนวนปุ่มเท่ากันล่ะเค้าทำไงกัน คำตอบคือให้ตามรูปแบบที่คนคุ้นเคยและนิยมเรียกกัันครับ ส่วนใหญ่มันจะนึกภาพออกว่าเวลาเรียก 66 Keys คือหน้าตาแบบ Leopold FC660 เพราะถ้าหน้าต้าเหมือน Poker เพิ่มปุ่ม เค้าจะเรียกไปเรียก 65% แทนเป็นต้น
เอาเป็นว่าไม่งงเนอะ เหมือน Layout ไหนดังกว่าแล้วเรียกแบบ Keys ไปแล้วส่วนใหญ่เราจะยึดอันนั้นเป็นหลักครับ
เรียกด้วยชื่อเฉพาะ
บางอันก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะของตัวเองเลย โดยไม่ได้อิงกับระบบ % หรือปุ่มแต่อย่างไร ส่วนใหญ่จะอิงกับแบรนด์และรุ่นที่ทำให้ Layout นั้นดังขึ้นมาครับ ตัวอย่างเช่น HHKB หรือ 1800 ครับ

HHKB นั้นกำเนิดจากในญี่ปุ่นย่อมาจาก Happy Hacking Keyboard ที่มีหลายคนค่อนข้างชอบ แต่ในการกลับกันก็มีหลายคนที่ไม่ชินกับ Layout แบบนี้
ส่วน 1800 นั้นเป็น Layout ที่เกิดจาก Cherry ในรุ่น G80-1800 ที่มีจุดเด่นคือการที่ตัวลูกศรโดนยกลงไปเป็นพิเศษด้านล่าง แล้วก็บีบเข้ามาโดยยกปุ่ม Page Up / Page Down / Delete ทั้งหลายไปอยู่ด้านบน Numpad แทน

Layout 1800 ได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มพอสมควร โดย Stock Keyboard เจ้านึงที่ใช้คือ Leopold FC980 ครับ ซึ่งหลายคนรู้จัก Layout 1800 มาจากเจ้าตัวนี้นี่แหละ

สรุปกันซักนิด
จริงๆ เขียนบทความนี้ขึ้นมาไม่ได้มีอะไรมากหรอก อยากรณรงค์ให้ใช้ให้ถูกๆ กัน เพราะว่าจะได้เข้าใจกันเร็วขึ้น อย่างผมเองก็มีลูกเพจมาถามใน Inbox แนะนำเรื่อง Mechanical Keyboard เยอะ ว่าแนะนำ Mechanical Keyboard TKL ให้หน่อย
พอแนะนำไปก็บอกว่า อยากได้แบบนี้แล้วก็ส่งรูป AJAZZ AK33 ให้หรือพวก Anne Pro มาให้ ผมเองก็ไปไม่ถูกเหมือนกัน แต่บอกมาแต่แรกว่าเป็น 75% หรือ 60% อะไรงี้จะง่ายขึ้นเยอะเลย
ดังนั้นอยากให้เรียกกันให้ถูกๆ ครับ จะได้สื่อสารกันง่ายเวลาซื้อขายกันในกรุ๊ปมันก็จะง่ายขึ้นเยอะด้วยเนอะ ใครชอบบทความนี้ก็อย่าลืมติดตามกันได้ที่เพจนักเลงคีย์บอร์ด แล้วก็ติดตามกันได้ที่ YouTube KBGangster ได้นะครับผม
0 comments on “ความเข้าใจผิดๆ ของคำว่า Tenkeyless (TKL)”